1 มี.ค. 2555

คำถามท้ายบทที่ 4

1.สื่อกลางประเภทมีสาย มีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง จงเปรียบเทียบ
ตอบ   ข้อดี
- ราคาถูก
- เสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้งน้อย
-สามารถส่งข้อมูลที่มีปริมาณเยอะ ๆ ได้เร็วมาก
-ข้อมูลที่ได้รับจึงมีความน่าเชื่อถือสูงเนื่องจากมีสัญญาณรบกวนน้อย
-ข้อมูลมีความปลอดภัยสูงเนื่องจากไม่มีการแผ่สัญญาณออกไปทำให้ผู้อื่นดักจับ สัญญาณได้ยาก
        ข้อเสีย
- มีข้อจำกัดเรื่องความยาวของสายสัญญาณ
-ไม่สามารถโค้งงอสายเคเบิลได้ตามความต้องการ ดังนั้นผู้ที่จะทำหน้าที่เดินเคเบิลใยแก้วนำแสงจะต้องเป็นผู้ที่ชำนาญและมีประสบการณ์เท่านั้น
- ค่าดำเนินการในการติดตั้งสายเคเบิลมีราคาแพง

2.สื่อกลางประเภทไม่มีสาย มีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง จงเปรียบเทียบ
ตอบ  ข้อดีของสื่อกลางประเภทไม่มีสาย
- เป็นระบบไร้สายจึงไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสาย
- ไม่มีปัญหาเรื่องสายขาด
- มีค่าแบนด์วิดธ์สูง ซึ่งมีผลทำให้อัตราความเร็วการส่งข้อมูลสูงด้วย
ข้อเสียของสื่อกลางประเภทไม่มีสาย
- เป็นสื่อกลางที่ถูกรบกวนจากสัญญาณภายนอกได้ง่าย
- ค่าติดตั้งจานและเสาส่งมีราคาแพง
- การใช้งานต้องขอใช้ความถี่จากองค์กรควบคุมการสื่อสาร แสงอินฟาเรด


3.PAN และ SAN คืออะไรจงอธิบาย
ระบบเครือข่าย PAN เครือข่าย ส่วนบุคคล หรือ แพน (Personal area network) : PAN) PAN คือ "ระบบการติดต่อสื่อสารไร้สายส่วนบุคคล" ย่อมาจาก Personal Area Network หรือเรียกว่า BluetoothPersonal Area Network (PAN)คือเทคโนโลยีการเข้าถึงไร้สายในพื้นที่เฉพาะส่วนบุคคล โดยมีระยะทางไม่เกิน 1เมตร และมีอัตราการรับส่งข้อมูลความเร็วสูงมาก (สูงถึง 480 Mbps)
 ข้อดี
1. สะดวกต่อการใช้งาน
2. สามารถรับส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
3. มีการรับรองเครือข่าย
4. สามารถนำอุปกรณ์ต่างๆมาใช้ร่วมกันได้
ข้อเสีย
1. สื่อสารได้ไม่เกิน 1 เมตร
2. การส่งข้อมูลอาจเกิดข้อผิดพลาดได้
3. ติดไวรัสได้ง่าย
4. ราคาแพงประโยชน์และการนำมาประยุกต์ใช้จากการที่กลุ่มของเราได้ศึกษาเกี่ยวกับ Personal Area Network (PAN)
ระบบเครือข่าย SAN
SAN เป็นระบบเครือข่ายของที่เก็บข้อมูล โดยนำอุปกรณ์ที่จัดเก็บข้อมูลมาติดตั้งรวมกันเป็นเครือข่าย มีระบบจัดการข้อมูลบนเครือข่ายที่ทำให้รับส่งข้อมูลได้รวดเร็ว ทำให้ข้อมูลที่เก็บเสมือนเป็นส่วนกลางที่แบ่งให้กับซีพียูหลายเครื่องได้  การจัดเก็บที่เก็บแบบนี้จึงต้องสร้างสถาปัตยกรรมใหม่ เพื่อให้รองรับระบบดังกล่าว การทำงานนี้จึงคล้ายกับการสร้างเครือข่ายของที่เก็บข้อมูลแยกต่างหาก เป็นการสร้างระบบจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่อย่างมีประสิทธิภาพได้ และสามารถใช้งานได้ดีกว่าแบบเดิม ด้วยเหตุผลที่แนวโน้มของการเก็บข้อมูลข่าวสารความรู้ในองค์กรมีมาก การดูแลฐานความรู้และข้อมูลข่าวสารขนาดใหญ่ จำเป็นต้องมีการสร้างระบบเพื่อรองรับองค์กรในอนาคต SAN จึงเป็นทางเลือกหนึ่งของการบริหารและจัดเก็บข้อมูลบนเครือข่าย
           
SAN สามารถให้ความยืดหยุ่นในการบริการจัดการกับระบบ รวมทั้งการจัด Configuration ซึ่งในที่นี้หมายถึง ความยืดหยุ่นสูงในการกำหนด ขนาดหรือลดขนาดการบรรจุเก็บข้อมูลข่าวสารของระบบ เราสามารถเพิ่มหรือลดจำนวนของเซิร์ฟเวอร์หรืออุปกรณ์จัดเก็บได้เต็มที่ โดยไม่กระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของ SAN นอกจากนี้ภายใต้ระบบ SAN สามารถมีเซิร์ฟเวอร์หลาย ๆ ตัว หรือเป็นจำนวนมาก ที่สามารถเข้ามา Access ใช้งานในกลุ่มของอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล ที่ดูแลภายใต้ SAN ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

25 ก.พ. 2555

คำถามท้ายบทที่ 3

1.ระบบสารสนเทศประกอบไปกี่ส่วน คืออะไรบ้าง
ระบบสารสนเทศประกอบไปด้วย 5 ส่วน คือ
1.ข้อมูล เป็นทรัพยากรที่สำคัญต่อบุคคลและองค์กร ข้อมูลแบ่งออกเป็น 6 ประเภทดังนี้
     1.1 ข้อมูลทั่วไป
     1.2 ข้อความ
     1.3 ภาพ
     1.4 เสียง
     1.5 Tactile Data
     1.6 ข้อมูลจากเครื่องรับรู้ ได้จากเครื่องรับรู้ต่างๆที่ใช้ในการควบคุมอุปกรณ์
2. การจัดเก็บ เน้นการจัดข้อมูลให้อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อำนวยความสะดวกต่อการเรียกใช้งาน
3. เครื่องมือที่ใช้จัดเก็บข้อมูลและประมวลผล เครื่องมือที่ใช้ คือเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
4. การประมวลผล คือ การแปรสภาพข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่ต้องการนำมาใช้งาน
5. สารสนเทศ เป็นผลผลิตของระบบสารสนเทศที่มีคุณสมบัติถูกต้อง ตรงความต้องการ ทันเหตุการณ์ สมบูรณ์ครบถ้วน กะทัดรัด


2.ปัจจุบันนิยมประมวลผลด้วยอะไรบ้าง นศ.คิดว่าเพราะอะไร จงให้เหตุผล

เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการจัดการสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ช่วยประมวลผล คัดเลือก คำนวณ หรือพิมพ์รายงาน ผลตามที่ต้องการ คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานได้รวดเร็ว มีความแม่นยำในการทำงาน และทำงานได้ต่อเนื่อง คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ จึงเป็นองค์ประกอบหนึ่งของระบบสารสนเทศ


3.ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิคส์  แบ่งได้กี่วิธี อะไรบ้าง 
สามารถจำแนกวิธีการประมวลผลตามลักษณะเครื่องมือที่ใช้ ได้ 3 วิธี คือ
1. การประมวลผลด้วยมือ ( Manual Data Processing ) เป็นวิธีดั้งเดิม วิธีการประมวลผลไม่ซับซ้อน เหมาะสำหรับงานที่มีปริมาณไม่มาก และไม่เร่งด่วน มีการนำอุปกรณ์ธรรมดามาช่วย เช่น การใช้ลูกคิด กระดาษ ปากกา
2. การประมวลผลด้วยเครื่องจักรกล ( Mechanical Data Processing) เป็นวิธีการประมวลผลที่อาศัยเครื่องจักรกลมาทำงานร่วมกับอุปกรณ์สำหรับการ ประมวลผลด้วยมือ เช่น เครื่องทำบัญชี
3. การประมวลผลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Data Processing ) เป็นวิธีการที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ซึ่งนำคอมพิวเตอร์มาใช้ประมวลผล เหมาะสำหรับงานที่มีปริมาณมาก ต้องการความรวดเร็ว ถูกต้อง


4.หน่วยที่เล็กที่สุดในการมองของคอมพิวเตอร์
ตอบ  บิต (Bit) Binary Digit เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของข้อมูลที่ใช้อยู่ในคอมพิวเตอร์


5.จงเรียงลำดับโครงสร้างข้อมูลของการมองของผู้ใช้งานจากขนาดเล็กไปใหญ่
ตอบ  หน่วยของข้อมูลคอมพิวเตอร์สามารถจัดเรียงเป็นลำดับชั้น จากขนาดเล็กไปขนาดใหญ่ได้ดังนี้
- บิต (bit) เลขฐานสองหนึ่งหลักซึ่งมีค่าเป็น 0 หรือ 1
- ตัวอักษร (character) กลุ่มข้อบิตสามารถแทนค่าตัวอักษรได้ ในชุดอักขระASCII 1 ไบต์ (8 บิต) แทน 1 ตัวอักษร
- เขตข้อมูล (field) เขตข้อมูลซึ่งประกอบด้วยกลุ่มตัวอักษรที่แทนข้อเท็จจริง
- ระเบียน (record) คือโครงสร้างข้อมูลที่แทนตัววัตถุชิ้นหนึ่ง เช่น ระเบียนนักเรียน
- แฟ้ม (file) ตารางที่เป็นกลุ่มของระเบียนที่มีโครงสร้างเดียวกัน
- ฐานข้อมูล (database) กลุ่มของตารางที่มีความสัมพันธ์กัน

18 ก.พ. 2555

คำถามท้ายบทที่ 2

1. อุปกรณ์รับข้อมูลเข้า  (Input Device) มีหน้าที่อะไรและมีอุปกรณ์อะไรบ้าง 
ตอบ  อุปกรณ์รับข้อมูลเข้า  (Input Device) 
        เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการรับข้อมูลเข้าไปสู่หน่วยประมวลผลกลาง  ผู้ใช้สามารถป้อนข้อมูลคำสั่งต่างๆ ผ่านอุปกรณ์ เหล่านี้เพื่อให้คอมพิวเตอร์งานได้ ได้แก่  1.1. แป้นพิมพ์ (Keyboard)  1.2. เมาส์ (Mouse) 1.3. สแกนเนอร์ (Scanner)  1.4. ไมโครโฟน (Microphone)
 
คีย์บอร์ด
1.1. แป้นพิมพ์ (Keyboard)        เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับข้อมูลที่สามารถพิมพ์หรือเคาะได้ เช่น  ตัวเลข ตัวอักษร เป็นต้น  แป้นพิมพ์ถูกออกแบบให้ประกอบด้วยกลุ่มของคีย์ที่มีลักษณะต่างๆ คือ คีย์ตัวอักษร  คีย์ตัวเลข  คีย์ฟังก์ชั่น  และคีย์ทั้งหมดมีถึง 101 คีย์หรือมากกว่า

เมาส์
 1.2. เมาส์ (Mouse)
      เป็นอุปกรณ์สำหรับรับข้อมูลจากการชี้ตำแหน่งบนจอภาพ  โดยอาศัยการเลื่อนเมาส์จากการหมุนของลูกกลมที่อยู่ด้านล่าง  นอกจากนี้ยังใช้เมาส์สำหรับการวาดรูป  การเปลี่ยนแปลง  การเคลื่อนย้าย ซึ่งอาจทำให้ผู้ใช้งานสามารถติดต่อกับคอมพิวเตอร์ได้อย่างรวดเร็ว

สแกนเนอร์
 1.3. สแกนเนอร์ (Scanner)
     เป็นอุปกรณ์รับข้อมูล  โดยการอ่านหรือสแกน(Scan) ข้อมูลที่ต้องการ  เครื่องสแกนจะมีเซลล์ไวแสงที่ตรวจจับความเข้มของแสงที่สะท้อนจากข้อมูล  แล้วแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอลให้เครื่องคอมพิวเตอร์ดำเนินการต่อไป  ข้อมูลอาจจะอยู่ในรูปของข้อความหรือกราฟฟิก  เครื่องสแกนมีหลายแบบตามความเหมาะสมกับการใช้งาน เช่น แบบมือถือ  แบบสอดกระดาษ แบบแท่น  เป็นต้น
ไมโครโฟน
1.4. ไมโครโฟน (Microphone)
     เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลจากเสียงพูดโดยตรง  เสียงที่ได้จะถูกแปลงสัญญาณเป็นสัญญาณดิจิตอล  เพื่อให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลได้การสื่อสาร  โดยใช้เสียงคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีหน่วยที่ทำหน้าที่จดจำเสียง  ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของอุปกรณ์หรือชุดคำสั่ง (Voice Recognition Devices or Voice Recognition Software)  ซึ่งทำให้สามารถสื่อสารหรือสั่งการให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้


2.อุปกรณ์ของหน่วยประมวลผล มีหน้าที่อะไรและมีอุปกรณ์อะไรบ้าง       
ตอบ    หน่วยประมวลผลจะทำหน้าที่ควบคุมและปฏิบัติการตามขั้นตอนของโปรแกรม ในขณะที่หน่วยความจำจะเป็นที่พักของโปรแกรม ข้อมูลนำเข้า และผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลก่อนนำออกไปแสดงทางอุปกรณ์แสดงผลดังนั้นตลอดการประมวลผลจึงมีการติดต่อประสานงานกันระหว่างหน่วยประมวลผลกับหน่วยความจำอยู่ตลอดเวลาอย่างเป็นระบบ เพื่อให้การเรียกใช้โปรแกรมหรือข้อมูลสามารถทำได้อย่างรวดเร็วต่อเนื่องและถูกต้องเป็นขั้นตอน และประกอบไปด้วย
1. หน่วยควบคุม (Control Unit)
2. หน่วยความจำหลักหรือหน่วยความจำภายใน (Main Memory or Internal Memory)
3. หน่วยความจำหลักหรือหน่วยความจำภายใน (Main Memory or Internal Memory)
หน่วยความจำถาวร (ROM: Read Only Memory)
หน่วยความจำแบบชั่วคราวหรือแบบแก้ไขได้ (Random Access memory: RAM)
- จานแม่เหล็ก (Magnetic Disk)
- ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk)
- ซีดีรอม (CD-ROM: Compact Disk Read Only Memory)
- ซีดี- อาร์ (CD-R: CD-Recordable)
- วอร์มซีดี (WORM CD: Write One Read Many CD)
- เอ็มโอดิสก์ (MO: Magneto Optical Disk)
- ดีวีดี (DVD: Digital Versatile Disk)


 3.อุปกรณ์แสดงผลมีหน้าที่อะไรและมีอุปกรณ์อะไรบ้าง
ตอบ   อุปกรณ์แสดงผล  เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับผลจากการประมวลผลที่เก็บไว้ในหน่วยความจำหลัก  ออกแสดงตามลักษณะของอุปกรณ์  ซึ่งมีอยู่ไม่กี่ประเภทที่นิยมใช้ คือ 1. จอภาพ 2. เครื่องพิมพ์
จอภาพ
 1. จอภาพ
     เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่สามารถติดต่อกับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ได้ทันทีที่มีการประมวลผลเกิดขึ้น  ทำให้ผู้ใช้งานสามารถสั่งให้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ทันทีจอภาพมีหลายชนิด เช่น แบบโมโนโครม แบบเกร์สเกล และแบบสี  เป็นต้น

เครื่องปริ้นเตอร์ 
 2. เครื่องพิมพ์
      เป็นอุปกรณ์แสดงผลออกทางกระดาษ  อาจเป็นกระดาษต่อเนื่อง  กระดาษพิมพ์ขนาดต่างๆ หรือแบบฟอร์มที่ได้กำหนด